เมนู

ภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิ
เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฎิสาร
มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อม
ยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อจากเตภูมิกวัฏอันมิใช่ฝั่ง ไปถึงฝั่งคือ
นิพพาน ด้วยประการดังนี้แล.
จบเจตนาสูตรที่ 2

อรรถกถาเจตนาสูตรที่ 2


เจตนาสูตรที่ 2

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น เจตนาย กรณียํ ได้แก่ไม่คิด กะ กำหนดกระทำ. บทว่า
ธมฺมตา เอสา ได้แก่ นั่นเป็นสภาวธรรม นี้เป็นนิยมแห่งเหตุ. บทว่า
อภิสนฺเทนฺติ ได้แก่ให้เป็นไป. บทว่า ปริปูเรนิติ ได้แก่ ทำให้บริบูรณ์.
บทว่า อปราปรํ คมนาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไปยังฝั่งโน้น
คือพระนิพพาน จากวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3 ซึ่งเป็นฝั่งนี้.
จบอรรถกถาเจตนาสูตรที่ 2

3. สีลสูตร


ว่าด้วยอวิปปฏิสารไม่มีแก่ผู้ทุศีล มีแก่ผู้มีศีลสมบูรณ์


[3] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่า


มีเหตุอันบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี. ปัสสัทธิชื่อ
ว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามี
เหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามี
เหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณ-
ทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณ-
ทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ
วิบัติจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมไม่บริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ
ขจัดเสียแล้ว ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามี
เหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้
มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข เมื่อ
สัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล

สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อ
ว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยถาภูตญาณทัสสนะ เมื่อ
นิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้
เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ-
ทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบสีลสูตรที่ 3

อรรถกถาสีลสูตรที่ 3


สีลสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า หตูปนิโส แปลว่า นิพพิทาและวิราคะ มีเหตุถูกกำจัดเสีย
แล้ว.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ 3

4. อุปนิสาสูตร1


ว่าด้วยอวิปปฏิสารอันบุคคลผู้ทุศีลขจัดเสียแล้ว


[4] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าว
ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสารมีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลผู้ทุศีลวิบัติขจัดเสีย

1. อรรถกถาสูตรที่ 4 แก้รวมอยู่ท้ายพระสูตรที่ 5.